วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

ที่มา : หนังสือคู่มือการดูแลผู้สูงอายุสูตรคลายซึมเศร้า โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)


                ภาวะซึมเศร้าคือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง อาการหลักๆ คือผู้สูงอายุจะรู้สึกเบื่อหน่ายหรือเศร้า หรือทั้งสองอย่าง โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการกินการนอน เรี่ยวแรง สมาธิ รวมถึงความรู้สึกที่มีต่อตัวเองร่วมด้วย
                การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ถ้าเป็นไม่มากนัก อาจเข้าข่าย “ภาวะซึมเศร้า” แต่หากมีอาการมากและกินระยะเวลานานก็อาจพัฒนากลายเป็น “โรคซึมเศร้า” ซึ่งจะทําให้ไม่มีความสุขในชีวิต ทํากิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจําวันได้ไม่ดีเหมือนเดิม และบางรายที่รู้สึกท้อแท้หรือหมดหวัง อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
อาการของภาวะซึมเศร้าเป็นอย่างไร
                รู้สึกเบื่อหน่าย : ผู้สูงอายุจะรู้สึกเบื่อหน่าย สนใจสิ่งต่างๆ น้อยลงหรือหมดความสนใจ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต ไม่เบิกบาน ห่อเหี่ยว หดหู่ หรือเซ็ง ภาษาถิ่นเรียกว่า ก้าย (เหนือ), เป็นตะหน่ายแท่ อุกอั่ง (อีสาน), เอือน (ใต้)           
                รู้สึกเศร้า : ผู้สูงอายุจะเศร้าโศกเสียใจง่าย น้อยใจง่าย ร้องไห้ง่าย รวมถึงมักรู้สึกท้อใจ
                พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนแปลง : ผู้สูงอายุจะนอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ ตื่นเช้ากว่าปกติ หรืออาจนอนมากขึ้น หลับทั้งวันทั้งคืน นอนขี้เซา
                พฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลง : เบื่ออาหาร ไม่ค่อยหิว หรืออาจกินจุขึ้น ของที่เคยชอบกินกลับไม่อยากกิน หรือบางรายอาจอยากกินของที่ปกติไม่กิน เช่น ของหวานๆ
                การเคลื่อนไหวของร่างกายเปลี่ยนแปลง : ผู้สูงอายุอาจเคลื่อนไหวเชื่องช้าลงหรือเคลื่อนไหวมากขึ้น กระวนกระวาย ภาษาอีสานเรียกว่า หนหวย หรือ บ่เป็นตะอยู่
                กําลังกายเปลี่ยนแปลง : อ่อนเพลียง่าย กําลังวังชาลดน้อยถอยลง รู้สึกไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเดิม ไม่ค่อยมีแรง บางรายอาจบ่นเกี่ยวกับอาการทางร่างกายหลายอย่างที่ตรวจไม่พบสาเหตุ หรือมีอาการมากกว่าอาการปกติของโรคนั้นๆ
                ความรู้สึกต่อตนเองเปลี่ยนแปลง : รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด หรือรู้สึกแย่กับตัวเอง คิดว่าตนเป็นภาระของลูกหลาน ไม่มีความสามารถเหมือนที่เคยเป็น ความภาคภูมิใจในตนเองลดลง อับจนหนหาง หมดหวังในชีวิต
                สมาธิและความจําบกพร่อง : หลงลืมบ่อย โดยเฉพาะลืมเรื่องใหม่ๆ ใจลอย คิดไม่ค่อยออก มักลังเลหรือตัดสินใจผิดพลาด
                ทําร้ายตัวเอง : ผู้สูงอายุบางรายที่มีอาการมากๆ อาจรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป บางรายจะคิดหรือพูดถึงความตายบ่อยๆ นึกอยากตาย และอาจวางแผนทําร้ายร่างกาย เช่น เตรียมสะสมยาจํานวนมากๆ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ จากนั้นอาจลงมือทําาร้ายตัวเองด้วยวิธีต่างๆ เช่น กินยาเกินขนาด กินยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าหญ้า แขวนคอ หรือใช้อาวุธทําร้ายตนเอง ผู้สูงอายุบางรายอาจไม่ยอมกินยาประจําตัว เพื่อปล่อยให้อาการทรุดลงจนเสียชีวิต

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หลักในการบริโภคไขมันที่ดี

ที่มา: หนังสือคู่มือบันทึกสุขภาพดี เพื่อการมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ
โดย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

การบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานซ์  ไขมันที่เราบริโภคจะเป็นส่วนผสมของกรดไขมันชนิดต่างๆ ซึ่งให้ผลต่อร่างกายแตกต่างกันออกไป หลักในการบริโภคคือ บริโภคไขมันอิ่มตัวน้อยลง และทดแทนด้วยไขมันไม่อิ่มตัวมากขึ้น
ไขมันในอาหารประกอบด้วยกรดไขมัน 3 ชนิดได้แก่
1.กรดไขมันอิ่มตัว พบมกในไขมันสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมันปาล์มเคอเนล กรดไขมันชนิดนี้มีผลในการเพิ่มโคเลสเตอรอลรวมและ แอลดีแอล ซึ่งเร่งการกิดโรคหัวใจ
2.กรดไขมันอิ่มตัวตำแหน่งเดียว ถือเป็นไขมันดี มีมากในถั่วเหลืองเมล็ดแห้ง น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันรำข้าว น้ำมันปาล์มโอเลอิน ถั่วลิสง กรดไขมันชนิดนี้มีผลในการลดระดับโคเลสเตอรอล โดยไม่ลดระดับเอชดีแอล ซึ่งป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้
3.กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง พบในน้ำมันถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกคำฝอย เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดฝ้าย เป็นต้น มีผลในการละระดับโคเลสเตอรอล ในขณะเดียวกันก็ลดระดับเอชดีแอลด้วยนอกจากนี้ยังพบมากในอาหารทะเล เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องรับประทานจากอาหาร
*สำหรับไขมันทรานซ์  พบมากในเนยเทียม เนยขาว มาร์เจอรีน น้ำมันที่ใช้ทอดมันฟรั่ง และขนมอบที่ทำจากมาร์เจอรีน ซึ่งไขมันชนิดนี้ในธรรมชาติพบในผลิตภัณฑ์นม ข้อมูลวิจัยพบว่าไขมันชนิดนี้ทำให้เพิ่มโคเลสเตอรอลและลด HDL ได้เช่นเดียวกับไขมันอิ่มตัว

วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แก้นิสัยบ้างาน ปรับชีวิตสู่สมดุล

ที่มา : 40plus.posttoday

มึนหัว อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หิวของหวาน อยากของเค็ม ใครเป็นยกมือขึ้น อาการเหล่านี้อาจจะไม่ใช่แค่การเหนื่อยล้าจากการทำงานธรรมดา แต่เป็นกลุ่มอาการที่ บ่งบอกว่า คุณหักโหมเกินไปจนร่างกายรับไม่ไหว ก้มหน้าก้มตาอดหลับอดนอนจนร่างกายรวนและทรุด อนาคตเงินที่หาได้คงต้องใช้รักษาร่างกายแทนการหาความสุขแล้วละ



เศรษฐกิจขาลงแบบนี้ ทุกอาชีพล้วนมีความเครียดไม่ต่างกัน นอกจากปัญหาเศรษฐกิจที่ ค่าครองชีพสูงขึ้น ยังมีปัญหาสังคมและครอบครัวให้ต้องกังวลเพิ่มขึ้นไปอีก ยิ่งความเครียดรุมล้อมมากเท่าไร โอกาสที่โรคร้ายจะรุมเร้าก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ความเครียดไม่เพียงทำให้สูญเสียพลังงาน แต่ยังนำมาซึ่งโรคร้าย ความเครียดเป็นปฏิกิริยาของสมองที่แต่ละคนจะมีปฏิกิริยาตอบสนองไม่เหมือนกัน แต่ละคนทนต่อความเครียดได้ไม่เท่ากัน ร่างกายก็จะแสดงอาการออกมาแตกต่างกันไป ส่วนเรื่องอันตรายก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเครียดว่ามากน้อยแค่ไหน และความอดทนของแต่ละบุคคล

วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

รักสะอาดเกินไป เสี่ยงโรคซึมเศร้า

ที่มา: MGR Online
การรักความสะอาดนั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่การรักสะอาดจนเกินพอดี อาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคซึมเศร้าได้  เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่า เมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ได้เจอหน้าศัตรูอย่างเชื้อโรคบ่อยเข้า จะมีผลต่อสมองในการผลิตสารความสุขอย่าง "เซโรโทนิน" (Serotonin) ให้ลดน้อยลงจนมนุษย์คนนั้นป่วยได้นั่นเอง
       หันมองรอบตัวตอนนี้ เราแทบจะมีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดนับร้อยชนิดให้เลือกซื้อจากชั้นวางสินค้า โดยแทบทุกยี่ห้อระบุว่าสามารถทำความสะอาดได้อย่างหมดจด สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ได้จนเหมือนมีโถส้วม ห้องครัวใหม่ จนเราแทบจะบอกภูมิคุ้มกันของร่างกายได้เลยว่า "เธอไม่ต้องออกโรงอีกแล้ว
       แต่ยิ่งทำความสะอาดมากขึ้น  ก็ยิ่งมีคนป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากขึ้นนี่สิ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สงสัย พร้อมอ้างอิงตัวเลขด้วยว่า ตัวเลขของการป่วยด้วยโรคซึมเศร้าของประชากรในประเทศแถบยุโรปนั้นทิ้งห่างกลุ่มประเทศยากจนลิบลับ ยกตัวอย่างเช่น อังกฤษ มีคนป่วยด้วยโรคซึมเศร้า 1 ใน 10 ส่วนประเทศไนจีเรีย ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าเพียง 1 ใน 100 เท่านั้น ซึ่งนักวิจัยกลุ่มนี้อ้างว่า เป็นเพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายของชาวยุโรปไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างที่ควรจะเป็น
       ดร.แอนดรูว์ มิลเลอร์ หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ในทีมวิจัยระบุว่า "เราเชื่อว่า ภูมิคุ้มกันของร่างกายคือตัวการของการเกิดโรคซึมเศร้า เมื่อมนุษย์เติบโตขึ้น ภูมิคุ้มกันก็พัฒนาตนเองไปพร้อม ๆ กัน หากภูมิคุ้มกันของร่างกายได้เจอกับแบคทีเรียและเชื้อโรคต่าง ๆ บ้าง ก็จะทำให้ภูมิคุ้มกันนั้นแข็งแกร่งมากขึ้น แต่ทุกวันนี้ ทุกสิ่งรอบตัวของมนุษย์ต้องสะอาดไปหมด ดังนั้น ภูมิคุ้มกันจึงไม่ค่อยได้พบกับเชื้อโรคหรือแบคทีเรียเท่าใดนัก และนั่นทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอ อีกทั้งยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองในการผลิตสารที่สร้างความสุขให้กับร่างกายอย่าง "Serotonin" ซึ่งนั่นทำให้มนุษย์ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าอีกด้วย
   ถึงวันนี้อาจต้องยอมรับว่า สิ่งต่าง ๆ ที่ถูกสร้างมา โดยเฉพาะแบคทีเรียที่ถูกมองเป็นตัวร้าย ตัวการก่อโรคต่าง ๆ ให้กับมนุษย์นั้น มีภารกิจบางประการแอบซ่อนอยู่ และเป็นภารกิจที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ด้วยเช่นกัน เพราะแบคทีเรียบางชนิดก็จำเป็นสำหรับการสร้างภูมิต้านทานให้กับมนุษย์ หากขาดมันไป ก็อาจทำให้มนุษย์เราป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ดังที่เป็นอยู่

6 วิธีง่ายๆ ดูแลเส้นผม

ที่มา: MGR Online
เคล็ดลับ บำรุงเส้นผม อย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงิน สำหรับสาวผมแห้ง เส้นเล็กลีบแบน ติดหนังศีรษะ เมื่อได้เห็นเส้นผมเงางาม นุ่มสลวยๆ พลิ้วไหวตามสายลมของสาวผมสวยทั้งหลายแล้ว คงจะหันมามองเส้นผมตัวเองแล้วรู้สึกแอบอิจฉาเล็กๆ อยู่ในใจ วันนี้เรามีเคล็ดลับที่ช่วยให้คุณสามารถช่วยฟื้นผมแห้งเสียให้กลับมาสุขภาพดีได้ ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ที่บ้านของคุณเอง
เคล็ดลับ บำรุงเส้นผม อย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงิน
         1.ระหว่างการสระผมทุกครั้ง เวลาสระผมให้นวดหนังศีรษะไปด้วย โดยการใช้มือขยุ้มเบาๆ ที่หนังศีรษะ เพื่อช่วยให้เกิดการหมุนเวียนโลหิตทั่วบริเวณหนังศีรษะแถมยังทำให้น้ำมันตามธรรมชาติไปหล่อเลี้ยงเส้นผม ซึ่งถือว่าเป็นการ บำรุงเส้นผม ได้ดียิ่งขึ้น
         2.หลังการสระผมทุกครั้ง ควรทำผมให้แห้งก่อนหวี เพราะการหวีขณะที่ผมเปียกจะทำให้เส้นผมขาดง่าย หากจำเป็นควรใช้หวีไม้ซี่ห่างเพื่อลดการขาดและหลุดร่วงของเส้นผม
         3.ผู้ที่นิยมใช้ไดร์เป่าผม ควรใช้ไดร์เป่าในลักษณะบนลงล่าง จากโคนผมไปสู่ปลายผม เพราะจะช่วยให้เกล็ดผมเรียงตัวตามธรรมชาติ เส้นผมนุ่มสลวย แลดูเงางาม และไม่ชี้ฟู
        4.การใช้ไดร์เป่าผมด้วยโรลไฟฟ้าและรีดผมให้ผมเรียบตรงด้วยเครื่องรีดไฟฟ้า ควรใช้ผลิตภัณฑ์ปกป้องเส้นผมจากความร้อนด้วยเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาผมแห้งเสีย เพราะความร้อนสูงของเครื่องมือเหล่านี้จะทำให้เส้นผมถูกทำลาย
         5.หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านกระบวนการขัดสีต่างๆ รวมทั้งบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่จะเข้าไปทำลายความแข็งแรงของเส้นผมได้ ถ้าหากคุณทำการหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้เสีย ก็จะเป็นการช่วย บำรุงเส้นผม โดยตรงอีกด้วย
         6.หากจำเป็นที่จะต้องมีกิจกรรมกลางแจ้ง เส้นผมต้องเผชิญกับแสงแดดแรงกล้า ควรป้องกันเส้นผมจากแสงแดดและรังสียูวี โดยการสวมหมวก หรือชะโลมด้วยผลิตภัณฑ์ปรับสภาพเส้นผมก่อนออกแดดเสมอ
         วิธีบำรุงเส้นผม ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในตอนต้น เป็นวิธีแสนง่ายๆ ที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน ขอเพียงแค่คุณปฎิบัติตามด้วยความใส่ใจ สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง เพียงเท่านี้ ในเวลาไม่นาน รับรองว่าคุณจะสามารถมีเส้นผมที่สวย เงางาม ชวนมอง เป็นอย่างมากเลยทีเดียว    

อดนอนบ่อย เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ

ที่มา : เว็บไซต์มติชนออนไลน์
ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ
การนอนหลับไม่เพียงพอ สามารถเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ หรือการอุดตันของเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองได้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว อย่างการเป็นเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอลในร่างกายสูง
ความเสี่ยงข้างต้นเป็นสิ่งที่ทีมนักวิจัยชาวอเมริกัน ค้นพบระหว่างการศึกษาวิจัย และได้เปิดเผยไว้ในวารสารของสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน โดยเป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่จำนวน 1,344 คน ที่สุ่มเลือกมาเพื่อการศึกษาเรื่องการนอนหลับในรัฐเพนซิลวาเนีย โดยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมมีอายุเฉลี่ยที่ 49 ปี และเป็นผู้ชายร้อยละ 42 ซึ่งต้องผ่านการตรวจคัดโรคและนอนหลับอยู่ในห้องทดลองเป็นเวลา 1 คืน ในกลุ่มตัวอย่างนี้ กว่าร้อยละ 39 ยังถูกพบว่า มีอย่างน้อยกว่า 3 ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ ซึ่งเมื่อมาอยู่รวมกันถูกเรียกว่ากลุ่มอาการเมตาบอลิสม์ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังมีค่าดัชนีมวลกาย (บีเอ็มไอ) สูงกว่า 30 ซึ่งเป็นระดับที่มีคอเลสเตอรอล ความดันเลือด น้ำตาลในเลือด และไตรกลีเซอไรด์สูง ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างจะถูกติดตามดูอาการเป็นเวลาเฉลี่ย 16 ปี โดยมีร้อยละ 22 ในจำนวนนี้ที่เสียชีวิตลงในระหว่างที่มีการทำการศึกษา
จากการศึกษา พบว่าผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการเมตาบอลิสม์ซึ่งนอนหลับไม่ถึง 6 ชั่วโมง มีโอกาสที่จะเสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจหรือการอุดตันของเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองสูงถึง 2.1 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ ขณะที่ผู้ที่นอนน้อยและมีกลุ่มอาการเมตาบอลิสม์ ยังมีโอกาส 1.99 เท่าที่จะเสียชีวิตจากโรคใดๆ ก็ได้เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอาการเมตาบอลิสม์ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงสูงและได้นอนพักผ่อนมากกว่า 6 ชั่วโมง มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพดี 1.49 เท่า
จูลิโอ เฟอร์นันเดซ เมนโดซา รองศาสตราจารย์แห่งวิทยาลัยการแพทย์เพนน์สเตท บอกว่า หากมีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหลายด้านอยู่แล้ว ก็ควรจะดูแลเรื่องการนอนพักผ่อนของตนเองให้ดีและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากมีปัญหา เพราะการนอนหลับถือเป็นสิ่งสำคัญ หากต้องการลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำว่า ในวัยผู้ใหญ่ควรนอนหลับพักผ่อนให้ได้อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อสุขภาพที่ดี

รู้จัก “โรคสะเก็ดเงิน”

ที่มา : เว็บไซต์ไทยรัฐ

          “โรคสะเก็ดเงิน (เรื้อนกวาง)” เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีสาเหตุการเกิดโรคที่ไม่แน่ชัด แต่มีพื้นฐานจากพันธุกรรม ร่วมกับสิ่งกระตุ้นจากภายนอก ทำให้เซลล์ผิวหนังส่วนนั้นแบ่งตัวเร็วกว่าปกติร่วมกับเกิดการอักเสบ จึงเกิดเป็นปื้นหรือเป็นแผ่นหนา แดง คันและตกสะเก็ดเร็วกว่าปกติ จาก 28 วัน เหลือเพียง 4 วัน 
อาการ ผิวหนังจะอักเสบเป็นผื่นแดงหนา ขอบชัด มีสะเก็ดสีเงินติดแน่น สามารถพบได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่มักพบบ่อยบริเวณข้อศอก หัวเข่า หน้าแข้ง บางรายพบความผิดปกติที่เล็บ โดยพบหลุมเล็กๆ บริเวณผิวเล็บ อาจมีจุดสีน้ำตาลใต้เล็บ หรือเล็บหนาขึ้น บางรายอาจมีอาการปวดข้อและข้อบวมร่วมด้วย
          ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคสะเก็ดเงิน การติดเชื้อ เช่น โรคไข้หวัด หรือคออักเสบจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส โรคติดเชื้อ HIB ทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงินกำเริบได้  การแกะเกา ขูด กด เสียดสี ทำให้ผื่นของโรคสะเก็ดเงินกำเริบ และลุกลามออกไปได้  การระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น การแพ้ยาทาต่างๆ สบู่ ผงซักฟอก จะทำให้เป็นผื่นมากขึ้น  การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การเล่นกีฬาหักโหม  ในช่วงฤดูหนาวอากาศแห้ง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบขึ้น  ความเครียดเป็นสาเหตุที่ทำให้โรคกำเริบได้  ยารักษาโรคจิตประสาทกลุ่ม Lithium ยารักษาโรคมาลาเรีย ยารักษาโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตกลุ่ม Beta-blocking agent ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น Indomethacin ยา สเตียรอยด์ชนิดกินและฉีด ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยามากินเอง เพราะยาหม้อ ยาจีน ยาไทยบางชนิด ก็ผสมสเตียรอยด์ลงไปด้วย
          การรักษา ทำได้ 3 ทาง ดังนี้  ทายา เช่น กลุ่มสเตียรอยด์ ยาทาน้ำมันดิน ยาทาวิตามินดี เป็นต้น คนที่มีผิวแห้งมากควรทาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวด้วย  ฉายแสงอัลตราไวโอเลต ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาทาหรือโรคมีความรุนแรง  ยากิน ใช้ในรายที่มีอาการรุนแรง หรือไม่ตอบสนองการรักษาขั้นต้น คนไข้บางรายอาจจะต้องใช้การรักษาหลายๆ วิธีร่วมกัน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดผลข้างเคียงของยาลง ที่สำคัญคือควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่างๆ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ ก็ช่วยให้ห่างไกลโรค “สะเก็ดเงิน” ได้แล้ว 

อาการข้อไหล่ติด

ที่มา : โลกวันนี้วันสุข
          ข้อไหล่ติดเป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ปวดไหล่และไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ สุดพิสัยข้อ ไม่ว่าจะขยับเองหรือให้ผู้อื่นช่วย ขยับให้
          สาเหตุของข้อไหล่ติดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาทางพยาธิสรีรวิทยาพบ การอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ และมีการหนาตัว ของเยื่อหุ้มข้อเป็นพังผืด ทำให้เคลื่อนไหว ข้อได้น้อยลง พบได้ประมาณ 2-5% ของประ ชากร มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มักเป็น กับแขนที่ไม่ถนัดมากกว่าข้างที่ถนัด และมีโอกาสเป็นทั้ง 2 ข้างได้ประมาณ 20-30%
          อาการข้อไหล่ติดมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะปวด ระยะข้อติด และระยะฟื้นตัว
          เนื่องจากโดยทั่วไปข้อไหล่ติดเป็นภาวะ ที่หายได้เอง การรักษาแบบประคับประคองตามระยะของโรคจะช่วยให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ อาการดีขึ้น ในระยะปวดการรักษาเน้นลด อาการปวดและการอักเสบ เมื่อเข้าสู่ระยะข้อ ติดอาการปวดเริ่มน้อยลง การรักษาจะเน้น การเพิ่มพิสัยข้อ ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้เองโดยการยืดดัดข้อไหล่ทุกวัน ก่อน การดัดข้อไหล่ควรประคบด้วยแผ่นความ ร้อน หลังดัดข้อไหล่แล้วอาจใช้แผ่นความ เย็นประคบป้องกันการอักเสบ หากไม่ดีขึ้น อาจทำกายภาพบำบัดโดยใช้อุปกรณ์ให้ ความร้อนต่างๆ การดัดข้อไหล่โดยนัก กายภาพบำบัดจะช่วยทำให้อาการเป็น ปรกติเร็วขึ้น ผู้ป่วยควรช่วยตนเองด้วย การยืดดัดข้อไหล่ทุกวันร่วมด้วย สุดท้ายระยะฟื้นตัวจะเน้นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่
          หากอาการข้อไหล่ติดไม่ดีขึ้นจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันหลังการรักษาอย่างเต็มที่ 4-6 เดือน แพทย์อาจพิจารณารักษาโดยการผ่าตัด เช่น การดมยาสลบเพื่อดัดข้อไหล่ หรือการผ่าตัดส่องกล้องไปตัดพังผืดหรือเนื่อเยื่อที่ยึดข้อไหล่ เป็นต้น(ข้อมูลภาพ rainbowarokayal.com)

เผยสาเหตุที่ลดน้ำหนักไม่ได้

ที่มา: shape
ทำกันมาทุกวิธีทางไม่ว่าจะเป็นสูตรไหนต่อสูตรไหนแต่น้ำหนักก็ไม่ยอมลดหายไปไหนเช่นเดิม โดยเฉพาะไขมันบริเวณหน้าท้องที่ดูเหมือนว่ามันจะไม่ยอมไปไหนง่ายๆ ทำท่าว่าจะขออยู่ด้วยกันตลอดไป ถ้าเจอกันแบบนี้แล้วลองมาดูพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ว่าเป็นเหตุผลที่เจ้าไขมันไม่อยากไปจากเราหรือเปล่า
เหตุผลที่ 1 ความเครียด การทำงานยุ่งๆ บางครั้งทำให้เรารู้สึกเครียด และการที่เราปล่อยตัวเองให้เครียดจึงทำให้เรารับทานของว่างบ่อยเกินไป และทำกันเป็นประจำจนเป็นนิสัยความเคยชิน ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นแบบไม่รู้ตัว การคิดว่าความเครียดจะช่วยเผาผลาญแคลอรีมากขึ้นนั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่เป็นความคิดที่ผิด ความจริงก็คือความเครียดจะไปเพิ่มการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกว่าคอร์ติซอล (Cortisol) เจ้าฮอร์โมนตัวนี้จะทำการส่งสัญญาณให้ร่างกายรักษาความคงที่ของน้ำหนักตัวไว้ และยังฝากไขมันไว้ที่หน้าท้องมากขึ้นอีกด้วย (ไขมันที่หน้าท้องเป็นไขมันที่กำจัดออกยากที่สุด ยังเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ทำให้มีคอเลสเตอรอลสูง และตามมาด้วยสาเหตุของปัญหาสุขภาพอื่นๆ อีกด้วย) แถมยังมีฮอร์โมนคอร์ติซอลที่ทำให้คุณรู้สึกเจริญอาหาร โดยเฉพาะอาหารหวานต่างๆ ที่มีไขมันสูงและแน่นอนอาหารพวกนี่เป็นศัตรูตัวร้ายของน้ำหนักและความผอมของคุณอีกด้วย ดังนั้นการที่เราปล่อยให้ตัวเองเครียดจะเป็นสาเหตุให้เราทานของว่างบ่อยขึ้นและทำให้มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

7 เมนูโลว์คาร์โบไฮเดรต

7 เมนูโลว์คาร์โบไฮเดรต

ที่มา :  40plus.posttoday
คาร์โบไฮเดรตไม่ใช่ศัตรูเสมอไป หากเลือกรับประทานอาหารเมนูคาร์บ (คาร์โบไฮเดรต) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่าง 7 เมนูสุดง่ายที่นักโภชนาการแนะนำ
นักโภชนาแนะนำอาหารโลว์คาร์บ 7 เมนูที่ทั้งทำง่าย อิ่ม อร่อย และไม่ต้องกลัวอ้วน ด้วยวัตถุดิบที่หาได้ง่ายตามท้องตลาด ใช้เวลาไม่นานในการปรุงอาหาร ทำให้งานนี้มื้อไหนๆ ก็มีประโยชน์ได้แบบไม่ต้องจ่ายแพง
1. ถั่วปากอ้า พืชฝักตระกูลถั่วเป็นแป้งอย่างดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่าง ถั่วปากอ้า ที่ประกอบไปด้วยไฟเบอร์และสารต่อต้านอนุกูลอิสระซึ่งเป็นพืชที่หาซื้อได้ง่าย กินง่าย และทำได้หลายเมนู
2. ผักกาดหอม เปลี่ยนจากแป้งแซนด์วิชมาห่อด้วยผักกาดหอมหรือกะหล่ำปลี เป็นไอเดียดีๆ ในการลดแป้ง โดยคุณยังสามารถมีมื้อที่เร่งรีบได้ เพียงแค่เพิ่มคุณค่าด้วยผักใบเขียว
3. หัวผักกาด พืชที่ให้แป้งอย่างหัวผักกาด สามารถนำมาใช้แทนหัวมันได้โดยไม่เสียรสชาติ ทว่า ให้พลังงานน้อยกว่า มีไฟเบอร์มากกว่า มีสารอนุกูลอิสระ วิตามินเค ซี และเอ โดยนำไปนึ่งหรือบดง่ายๆ ก็กลายเป็นอาหารมื้อหลักได้แล้ว
4. ก๋วยเตี๋ยวเส้นแครอท นอกจากเส้นซูกินีที่เป็นที่นิยมของคนนับแคลอรี่แล้ว อีกทางเลือกที่น่าสนใจต้องยกให้เส้นแครอทที่สามารถนำไปทำผัดซีอิ๊ว พาสต้า หรือก๋วยเตี๋ยวได้อร่อยเหมือนเดิม
5. กะหล่ำดอกบด กินแล้วสบายใจกว่ามันบดต้องลอง กระหล่ำดอกบด ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ และเหมาะกับคนควบคุมน้ำตาลในเลือดที่สุด
6. ข้าวบล็อคเคอรี่ เพียงสับบล็อคเคอรี่เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วโยนเข้าหมอหุงข้าว คุณก็จะได้รับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มีไฟเบอร์ วิตามินเค และบี 6 ซึ่งส่งผลดีแก่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ
7. สปาเกตตี้เนื้อฟัก เปลี่ยนจากเส้นสปาเกตตี้ธรรมดา เป็นเส้นที่ทำจากฟักจะช่วยลดแคลอรี่ เพิ่มโฟเลต โพแทสเซียม และไฟเบอร์ โดยให้พลังงานน้อยกว่าเส้นสปาเกตตี้ทั่วไปถึง 200 แคลอรี่ หรือจะเพิ่มคุณค่าทางอาหารด้วยหน่อไม้ฝรั่ง โรสแมรี่ และไพน์นัท ก็จะได้สปาเกตตี้จานอร่อยแบบรักสุขภาพ

ไม่ต้องสมบูรณ์แบบก็ (สุข) ได้

ที่มา :  40plus.posttoday
ความจริงก็คือเราทุกคนกำลังอาศัยอยู่ในโลกที่ไม่สมบูรณ์แบบ ความสมบูรณ์แบบถ้าเกิดขึ้นได้เป็นสิ่งดี แต่เนื่องจากข้อจำกัดในชีวิต คนเรามีหมวกหลายใบที่ต้องรับผิดชอบ การที่จะให้ทุกบทบาทรวมทั้งการดูแลสุขภาพกายใจของตัวเองสมบูรณ์แบบไม่ขาดตกบกพร่อง น้อยคนหรือแทบไม่มีเลยที่จะทำได้ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน

ความจริงก็คือเราทุกคนกำลังอาศัยอยู่ในโลกที่ไม่สมบูรณ์แบบ ความสมบูรณ์แบบถ้าเกิดขึ้นได้เป็นสิ่งดี แต่เนื่องจากข้อจำกัดในชีวิต คนเรามีหมวกหลายใบที่ต้องรับผิดชอบ การที่จะให้ทุกบทบาทรวมทั้งการดูแลสุขภาพกายใจของตัวเองสมบูรณ์แบบไม่ขาดตกบกพร่อง น้อยคนหรือแทบไม่มีเลยที่จะทำได้ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน
ไม่ต้องสมบูรณ์แบบก็ (สุข) ได้

ยิ่งสูงยิ่งหนาว คุณวุฒิวัยวุฒิยิ่งสูงยิ่งบีบคั้น ใครก็ตามที่กำลังเครียดหรือมีความทุกข์จากปัญหาเรื่องความ (ไม่) สมบูรณ์แบบในชีวิต ถึงคราวต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ปรับเปลี่ยนวิธีคิดได้แล้ว
1.ในแต่ละวันควรหาเวลาผ่อนคลายจากความเครียด
พักสมอง พักจิตใจ พักอารมณ์ อย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อที่ความเครียดจะได้ไม่สะสม อาจทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ ทำสมาธิ เล่นโยคะ ชี่กง ออกกำลังกายฯลฯ
การมีเวลาผ่อนคลายจะช่วยให้การมองสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยอารมณ์ขุ่นมัวน้อยลง มีสติมากขึ้น การตัดสินใจแก้ปัญหาก็จะดีขึ้น ผิดพลาดน้อยลง
2.ฝึกมองสิ่งต่าง ๆ ในแง่บวก
มองข้อดีของสิ่งที่ตนเองได้รับและชื่นชมข้อดีนั้น ไม่ใช่มุ่งมองแต่ข้อที่ขาดไปหรือข้อเสียเท่านั้น การสามารถมองด้านบวกได้จะทำให้เกิดกำลังใจในการต่อสู้แก้ไขปัญหา
3.เตือนตัวเองว่า ความไม่สมบูรณ์แบบไม่ได้แปลว่าเราแก้ไขไม่ได้
เราไม่ได้อยู่ในโลกที่สมบูรณ์แบบ ทุกคนมีข้อดี มีข้อเสียและข้อจำกัด เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหา การตั้งเป้าหมายหรือการตั้งความคาดหวังต่อสิ่งต่าง ๆต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดและพื้นฐานความเป็นจริงของปัจจัยแวดล้อมด้วย
4.ไม่ต้อง 100%ทุกเรื่องก็ได้
คนทุกคนย่อมมีความรับผิดชอบในหลายเรื่อง ต่างคนต่างสวมหมวกกันคนละหลายใบ เช่น เป็นลูก เป็นพ่อแม่ เป็นสามีภรรยา เป็นลูกจ้าง เป็นนักเรียน เป็นพนักงานลูกน้องฯลฯ ไม่ได้หมายความว่าต้องทำทุกเรื่องให้ได้ผลสมบูรณ์ 100% เต็มในทุกเรื่อง
มีบางเรื่องที่ความสมบูรณ์ของผลงานสำคัญมาก บางเรื่องสำคัญปานกลาง บางเรื่องสำคัญน้อย บางเรื่องไม่เร่งด่วน การจัดลำดับความสำคัญของภาระแต่ละเรื่อง ถ้าทำได้ดี จะช่วยลดความเครียดและแรงกดดันต่อตนเองได้มาก
5.สื่อสารให้เป็น
วิธีการสื่อสารกับคนในบ้านและที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญ นั่นหมายถึงความสามารถในการมองเห็นข้อดี ชื่นชมกันและให้กำลังใจกัน รวมทั้งให้เกียรติกัน อย่าเป็นคนที่มองเห็นแต่ข้อเสีย และถึงแม้ว่า “เห็น”ข้อเสียของคนอื่นจริง ๆ ก็ต้องพูดเป็นสื่อสารเป็น ถ้าต้องการให้เขาแก้ไข การใช้อารมณ์รังแต่จะทำให้ผู้ถูกติเตียนเสียความรู้สึก ไม่ให้ความร่วมมือ งานสำเร็จยาก
สรุปว่า การตั้งเงื่อนไขกับตัวเองว่า ฉันจะมีความสุขต่อเมื่อสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตสมบูรณ์แบบเป็นการคาดหวังที่สูงเกินไป และอาจไม่อยู่ในความเป็นจริง ชีวิตที่เพียบพร้อมไปด้วยความสมบูรณ์แบบมีเพียงชีวิตในนิยายหรือเรื่องที่ไม่มีอยู่จริงเท่านั้น
มาเรียนรู้ที่จะอยู่กับความจริง หรือ อยู่กับความไม่สมบูรณ์แบบอย่างมีความสุขกันดีกว่า



มากินเพิ่มไขมันดีกันเถอะ

ที่มา :  40plus.posttoday
คอเลสเตอรอลมีทั้งผู้ดีและผู้ร้าย จะเป็นยังไงถ้าเราทำให้ไขมันดีมีมากขึ้นด้วยการกิน
คอเลสเตอรอลมีทั้งผู้ดีและผู้ร้าย จะเป็นยังไงถ้าเราทำให้ไขมันดีมีมากขึ้นด้วยการกิน
มากินเพิ่มไขมันดีกันเถอะ

เมื่ออายุเพิ่มตัวเลขคอเลสเตอรอลอาจจะทำให้คุณตกใจ แต่ใครบอกว่าไขมันเป็นตัวร้ายเสียทีเดียวคอเลสเตอรอลที่เรารู้จักยังย่อยไขมันออกเป็นสองแบบ คือไขมันชนิดดี (High-Density Lipoproteins หรือ HDL) และไขมันชนิดไม่ดี (Low-Density Lipoproteins หรือ LDL) แน่นอนว่าไขมันตัวร้ายจะทำให้เราเจ็บป่วยได้ เหมือนรถขนขยะที่นำของไปจำเป็นไปขวางทางเดินเลือด ไปเกาะกับเส้นเลือดทำให้มีการอักเสบ และการตีบตันของเส้นเลือดได้ ในขณะที่เจ้าไขมันชนิดดี จะช่วยป้องกันการเกาะของไขมันไม่ดี ดังนั้น ยิ่งมีไขมันชนิดดีมีสูง ยิ่งทำให้ลดความเสี่ยงที่ไขมันไม่ดีจะไปเกาะตามจุดสำคัญ เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง เป็นต้น
พฤติกรรมที่จะสามารถเพิ่มระดับไขมันดีในเลือด นอกจากคุณจะต้องงดสูบบุหรี่ให้ได้ และออกกำลังกายแบบเป็นประจำ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือเล่นกีฬาที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นต่อเนื่องกัน 20 นาทีขึ้นไป สิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้คือ การกิน
การกินที่ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งเป็นต้นเหตุของไขมันตัวร้าย คือ น้ำตาล แป้งขัดขาว อาหารประเภทผัด ทอด อาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีไขมันทรานส์ที่อาจทำให้เส้นเลือดของคุณถูกทำลายมากขึ้น เปลี่ยนมาเป็นอาหารแบบต้ม นึ่ง ตุ๋น อบ ปิ้ง ย่าง เพิ่มเมนูที่มีไขมันที่ดีต่อสุขภาพทั้งแบบที่ร่างกายสร้างเองได้และสร้างเองไม่ได้ ซึ่งได้แก่ อะโวคาโด ธัญพืชโฮลเกรน เช่น ข้าวโอ้ต ถั่วต่างๆ เช่น วอลนัต อัลมอนด์ เพิ่มโอเมก้า 3 ปลาแซลมอน น้ำมันประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย ฯลฯ
ไขมันในอาหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มไขมันชนิดดีช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี และยังดีต่อหัวใจด้วย ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

อย่ามองข้าม “โรควัณโรคปอด”

ที่มา : รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

โรควัณโรคปอด เป็นโรคติดต่อและแพร่เชื้อกันได้ง่ายมาก การดูแลผู้ป่วยและคนใกล้ชิดจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อลดโอกาสการติดต่อไปยังผู้อื่น จะมีวิธีป้องกันอย่างไรนั้น เรามาทำความรู้จักกัน
อย่ามองข้าม “โรควัณโรคปอด”
อย่ามองข้าม “โรควัณโรคปอด”

วัณโรคติดต่อได้ทางการหายใจ จากการติดเชื้อโรคที่เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง โดยการสูดหายใจเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อปล่อยออกมาจากการไอ จาม พูด หัวเราะ หรือร้องเพลง ซึ่งเชื้อสามารถ อยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง

ส่วนใหญ่มักเกิดโรคที่ปอด แต่ก็พบที่อวัยวะอื่นได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง หรือกระดูก ซี่งผู้ป่วยจะได้รับเชื้อจากคนใกล้ชิดในครอบครัว หรือในที่สาธารณะจากผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อรายอื่น กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อเอชไอวี หรือไตวายเรื้อรัง เมื่อได้รับเชื้อจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้มากกว่าคนปกติหลายเท่า

แมลงสาบ! ภัยเงียบสู่ภูมิแพ้

ที่มา : รศ.พญ.อัญชลี ตั้งตรงจิตรและคณะ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
แมลงสาบ! ภัยเงียบสู่ภูมิแพ้
แมลงสาบ! ภัยเงียบสู่ภูมิแพ้
แมลงสาบที่พบในบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์อเมริกัน สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว  กล่าวคือหากเราเห็นแมลงสาบในบ้าน 1 ตัว เท่ากับยังมีอยู่ในรังอีก 10-800 ตัว สารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบจะมาจากส่วนต่าง ๆ ทั้งจากตัวมันเอง และส่วนต่างๆ ของแมลงสาบ   เช่น   ปีก หนวด  ไข่   รวมทั้งสิ่งที่ขับถ่ายออกมา หรือจากสารคัดหลั่งของแมลงสาบ

นักกีฬากับความเสี่ยงของหัวใจ

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
นักกีฬากับความเสี่ยงของหัวใจ
นักกีฬากับความเสี่ยงของหัวใจ
          หลายๆ คนที่เป็นทั้งคอบอล หรือแม้แต่ดูบอลไม่เป็น น่าจะเคยได้ยินข่าวเรื่องนักฟุตบอลทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเสียชีวิตในระหว่างการแข่งขันเนื่องจากหัวใจล้มเหลวอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อยว่าทำไมนักฟุตบอล ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องออกกำลังกายเป็นประจำเสมออยู่แล้ว ถึงเสียชีวิตจากโรคหัวใจกันมาก ทั้งที่ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน
          จึงขอตอบคำถามเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องนี้ เหตุการณ์การเสียชีวิตจากโรคหัวใจในนักกีฬานั้น ถือว่าน้อยมาก ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมาพบเพียง 1:50,000-1:300,000 ราย แต่เนื่องจากนักกีฬาเหล่านี้อายุยังน้อย มีอนาคตที่จะสร้างชื่อเสียงในวงการกีฬาให้แก่ทีมต้นสังกัดหรือเป็นตัวแทนระดับชาติได้อีกมากมาย หากเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ จึงเป็นเรื่องที่สะเทือนใจสำหรับผู้ที่รับทราบ ทั้งที่เป็นแฟนคลับและคนทั่วไป

อาการเตือน"เสี่ยงมะเร็งลำไส้"

ที่มา : เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์
อาการเตือน"เสี่ยงมะเร็งลำไส้"
อาการเตือน"เสี่ยงมะเร็งลำไส้"
ข้อมูลข่าวโดย : แพรวา คงฟัก
ปัจจุบันการแพทย์ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โรคต่างๆ นั้นก็พัฒนาตามการรักษา มีความรุนแรง ความรวดเร็วที่จะเกิดโรคนั้นจากแต่ก่อน ซึ่งมะเร็งลำใส้ก็นับว่าเป็นภัยร้ายที่คุกคามชีวิตคนทั้งโลกอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมารู้ตัวอีกครั้งก็ตอนป่วยในระยะที่หนักๆ เสียแล้ว สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ก็เหมือนกับการเกิดโรคมะเร็งทั่วไป ก็คือ การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง เน้นเนื้อสัตว์มากเกินไป มีไขมันมากเกินไป ใยอาหารน้อย หรืออาหารประเภทปิ้งย่าง การใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่มีการดูแลตัวเอง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม

ไบโพลาร์ รักษาหายได้

ที่มา : เว็บไซต์ thaipr.net
ไบโพลาร์ รักษาหายได้
ไบโพลาร์ รักษาหายได้
กรมสุขภาพจิตเผยโรคอารมณ์สองขั้วสามารถรักษาหายได้ เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์เป็นอาการสำคัญ แนะผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัด ดูแลตัวเอง รวมทั้งควรต้องได้รับกำลังใจและความเข้าใจจากสังคม ครอบครัว และคนใกล้ชิด
นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเนื่องในพิธีเปิดงาน ไบโพลาร์วันฟ้าใหม่ ปีที่ 8 ที่จัดขึ้นด้วยความร่วมมือกันระหว่าง ชมรมเพื่อนไบโพลาร์ สมาคมสายใยครอบครัว และศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ว่า ประเทศไทยมีการตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์ให้ความรู้ ให้สังคมรู้จักโรคไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว และมีความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยและสามารถสังเกตคนรอบข้างได้ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป

วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE)

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE)
โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE)
          โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก โดยส่วนใหญ่กว่า 80% เป็นชนิดหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (Ischemic stroke) และอีกประมาณ 20% เป็นหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)
      

กินไขมันอย่างไรไม่ให้ "อ้วน"

ที่มา : ศุกร์สุขภาพ เว็บไซต์ไทยรัฐ

กินไขมันอย่างไรไม่ให้ "อ้วน"
กินไขมันอย่างไรไม่ให้ "อ้วน"
“ไขมัน” เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของอาหารหลัก 5 หมู่ ที่เราทุกคนควรกินในแต่ละมื้อ เพื่อที่ร่างกายจะได้นำพลังงานไปใช้ในการดำรงชีวิต

นอกจากนี้ไขมันยังมีประโยชน์อีกมากมาย อาทิ ช่วยดูดซึมวิตามินเอ ดี อี และเค จากอาหารที่เรากิน และควบคุมกระบวนการเปลี่ยนแปลงของคอเลสเตอรอลในร่างกาย เป็นแหล่งพลังงานสำรองของร่างกาย โดยสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่ตามร่างกาย ช่วยให้ผิวหนังและผมมีสุขภาพแข็งแรง
กรดไขมันที่ควรรู้จัก มีดังนี้
กรดไขมันไม่อิ่มตัว เป็นกรดไขมันที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด พบได้ทั่วไปในน้ำมันที่ได้จากพืช ยกเว้นน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว
กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง เป็นกรดไขมันที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ แต่ไม่สามารถผลิตได้เอง ได้แก่ กรดไขมันไลโนเลอิก พบในผัก ผลไม้ ธัญพืช เมล็ดพืชต่างๆ น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันจมูกข้าวสาลี เป็นต้น ส่วนกรดไขมันอัลฟาไลโนเลนิก พบในเมล็ดปอ เมล็ดมัสตาร์ด เมล็ดฟักทอง เมล็ดถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดวอลนัท ผักใบเขียว ธัญพืช สาหร่ายสไปรูไลนาและน้ำมันปลา
กรดไขมันตระกูลโอเมกา-3 มีประโยชน์ต่อหัวใจ นั่นคือ ช่วยต้านการอักเสบ ต้านการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย อาหารที่มีโอเมกา-3 ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน และปลาทูน่า
กรดไขมันอิ่มตัว เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ จึงไม่จำเป็นต้องกินเพิ่มเข้าไป โดยควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูง ซึ่งได้แก่ เนย นมสด ครีม ไอศกรีม น้ำมันหมู ไขมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม อันเป็นสาเหตุให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
กินไขมันอย่างไรดี
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เราจึงควรเลือกกินไขมันที่ดี เช่น เนื้อปลา ธัญพืช ผัก ผลไม้ อาหารพร่องไขมัน หรือผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน หมู 3 ชั้น หนังไก่ อาหารทอด อบ ปิ้ง ย่าง เช่น โดนัท คุกกี้ แคร็กเกอร์ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยไขมันจากสัตว์ หรือการปรุงอาหารด้วยน้ำมันจากไขมันสัตว์ นอกจากนี้หากมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจระดับคอเลสเตอรอลอย่างน้อยปีละครั้ง

ดูแล “ดวงตา” ในยุคดิจิทัล

ที่มา : อ.พญ.ญาณิน สุวรรณ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

“ดวงตา” เป็นอวัยวะที่สำคัญอวัยวะหนึ่งของร่างกายเรา แต่ละคนมีกันคนละคู่เท่านั้น ในแต่ละวันเราต้องใช้ดวงตาในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน ทำให้ดวงตาของเราต้องรับบทหนักตลอดทั้งวัน

ดูแล “ดวงตา” ในยุคดิจิทัล
ดูแล “ดวงตา” ในยุคดิจิทัล
ยิ่งโลกปัจจุบันที่โซเชียลเน็ตเวิร์กได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนเรา อย่างแทบจะขาดไม่ได้ เราสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต ซึ่งจากข้อมูลปี 2559 พบว่าจากประชากรทั้งหมด 68 ล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 38 ล้านคน คิดเป็น 56% ของประชากร และมีผู้ใช้ Social Media ทั้งสิ้น 38 ล้านคน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เราใช้สายตามากกว่าปกติ จนอาจทำให้เป็น “โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม”

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

อ่อนวัย... ด้วยโยคะ

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
อ่อนวัย... ด้วยโยคะ
อ่อนวัย... ด้วยโยคะ
          การเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ถ้าค้นหาสาเหตุของการป่วย แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากพันธุกรรม แต่ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรม การใช้ชีวิต
          กุลธิดา แซ่ตั้ง อดีตพยาบาลคนนี้ ก็ไม่ต่างจากคนอื่นๆ คือ เห็นคนป่วยที่เข้าออกโรงพยาบาลอยู่เรื่อยๆ จนตั้งคำถามว่าชีวิตคนเราจะรอให้ป่วย แล้วค่อยเข้าโรงพยาบาลหรือ เพราะคนส่วนใหญ่ ป่วยเพราะตัวเขาเอง  ถ้าอย่างนั้น คนเราน่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค ไม่ให้ป่วย คงจะดีกว่า...

ปวดร้าวที่กระดูก แบบไหนต้องพบแพทย์

ที่มา: รามาแชนแนล Rama Channel
ปวดร้าวที่กระดูก แบบไหนต้องพบแพทย์
ปวดร้าวที่กระดูก แบบไหนต้องพบแพทย์
ในบรรดาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัว อาการปวดร้าวที่กระดูกถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่หลายคนพบเจอ เนื่องจากการใช้ร่างกายที่ไม่เหมาะสม หรือการเคลื่อนไหวที่ผิดพลาด บ้างเกิดจากอายุที่มากขึ้น บ้างก็อาจเกิดจากการออกกำลังกาย และอื่นๆ ทั้งยังคงเป็นปัญหาให้หลายคนที่เป็น ใช้ชีวิตผิดปกติไปจากเดิม
โดยระดับอาการยังมีตั้งแต่น้อยไปถึงมาก อาจต้องพบแพทย์หรือไม่ก็ได้ เพราะบางระดับอาการก็สามารถบำบัดได้ด้วยตนเอง วันนี้เราก็มีข้อมูลมาฝากว่าอาการปวดร้าวที่กระดูกแบบไหน ที่ควรพบแพทย์บ้าง

"สูงวัย" แค่ใจสู้ ไม่เพียงพอ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"สูงวัย" แค่ใจสู้ ไม่เพียงพอ
"สูงวัย" แค่ใจสู้ ไม่เพียงพอ
สูงวัยแล้วช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่มีลูกหลานดูแล ลองดูว่ามีตัวช่วยอะไรบ้าง คงเคยได้ยินบ่อยๆ ว่า ลูกๆ เกี่ยงกัน ไม่อยากดูแลพ่อเม่ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ,คนดูแลผู้สูงวัยหายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร,คนชรายากจนถูกนำไปทิ้งในบ้านพักคนชรา ฯลฯ นี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น และปัญหาเหล่านี้จะมากขึ้นเรื่อยๆ...
ถ้านับจากพุทธศักราชนี้ (ปี2560) อีก 6 ปีข้างหน้า เมืองไทยจะเป็นสังคมผู้สูงวัยสมบูรณ์แบบ เพราะมีผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ แม้คนทำงานในแวดวงผู้สูงวัยจะตื่นตัว แต่เรื่องจริงที่เกิดขึ้น ก็คือ ภาครัฐยังไม่ได้ออกแบบกลไกการดูแลผู้สูงวัยที่มีประสิทธิภาพ ถ้าอย่างนั้นครอบครัวที่มีผู้สูงวัยต้องดูแล หรือคนที่เข้าสู่ช่วงสูงวัย หากถึงวันที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย หรือช่วยตัวเองไม่ได้แล้ว ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง...

ยานอนหลับ

ที่มา: มูลนิธิหมอชาวบ้าน
ยานอนหลับ
ยานอนหลับ
เริ่มเข้านอน จะนอนหลับยาก ต้องใช้เวลานานๆ กว่าจะหลับ โดยทั่วๆ ไป เมื่อเข้านอนแล้ว ถ้าใช้เวลา 45-60นาทีแล้ว ยังไม่สามารถหลับได้ จะจัดว่าเป็นคนที่นอนหลับยาก
อาการนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยในสังคมยุคปัจจุบัน ที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ และแข่งขันกันอย่างมากมาย โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดปัญหาหรือเป็นช่วงวิกฤติของชีวิต ซึ่งจะพบได้มากขึ้นในบุคคลที่มีอายุมากขึ้น ที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย หรือในสภาวะแวดล้อมภายนอกที่วิกฤติเป็นปัญหาอุปสรรค เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย น้ำมันแพง สึนามิ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

น้ำแข็งไส พิษภัยในความหวานเย็น

ที่มา : manager.co.th

น้ำแข็งไส พิษภัยในความหวานเย็น
น้ำแข็งไส พิษภัยในความหวานเย็น
อากาศร้อนๆ แบบนี้ ใครก็ต่างอยากได้อะไรหวานๆ เย็นๆ มาดับกระหาย คลายร้อน กินให้ชื่นใจ และของหวานที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีหนึ่งในนั้นก็คือ “น้ำแข็งไส”
ส่วนประกอบหลักในน้ำแข็งไส
น้ำแข็ง
น้ำเชื่อม
น้ำหวาน
น้ำข้นหวาน
เครื่องต่างๆ อาทิ มันเชื่อม ฟักทองเชื่อม ลูกชิด วุ้นมะพร้าว ซาหริ่ม ข้าวโพดหวาน แปะก๊วย เฉาก๊วย ทับทิมกรอบ ขนุน ฯลฯ เป็นต้น

เคล็ดลับชะลอวัย ห่างไกลโรค

ที่มา:  เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์
เคล็ดลับชะลอวัย ห่างไกลโรค
เคล็ดลับชะลอวัย ห่างไกลโรค
          สิ่งที่ทำให้คนเราแก่เร็วคือความเจ็บป่วยโดยเฉพาะการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากอนุมูลอิสระที่มากเกินไปในร่างกาย และเพื่อห่างไกลโรคและมีอายุยืนยาว นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ ประธานกรรมการ บริษัทในเครือเวลเนสซิตี้กรุ๊ป จึงแนะเคล็ดลับโกงความแก่ ดังนี้

โรคที่ไม่ต้องพึ่งหมอ

ที่มา: มูลนิธิหมอชาวบ้าน
โรคที่ไม่ต้องพึ่งหมอ
โรคที่ไม่ต้องพึ่งหมอ
โรคบางโรคไม่จำเป็นต้องไปหาหมอหรือไม่ต้องไปโรงพยาบาลก็สามารถหายเองได้ หรือสามารถหายามากินด้วยตนเองได้ บางโรคทุกคนเคยเป็นแล้ว และบางโรคแม้จะยังไม่เคยเป็นมาก่อนแต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในอนาคต “อาการบางอย่างไม่ใช่โรค โรคบางอย่างไม่ต้องรักษา บางครั้งอยู่กับโรคดีกว่าอยู่กับยา”

วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560

นอนหลับเพียงพอ ดีต่อสุขภาพ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
นอนหลับเพียงพอ ดีต่อสุขภาพ
นอนหลับเพียงพอ ดีต่อสุขภาพ
การนอนหลับที่ดีนับเป็นอีกปัจจัยของการมีสุขภาพดี เพราะเป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้พักผ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจและหลอดเลือดซึ่งจะไม่ต้องออกแรงมาก เพื่อสูบฉีดโลหิตเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งยังเป็นช่วงเวลาที่เกิดการซ่อมแซมส่วนสึกหรอ ปรับสมดุลสารเคมีต่าง ๆ ในร่างกายและยังเป็นช่วงเวลาที่สมองได้ทำการเรียบเรียงข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อจะได้นำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ฯลฯ

ผักบำรุงสมอง

ที่มา : manager.co.th
โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
ผักบำรุงสมอง
ผักบำรุงสมอง
ผู้เขียนเชื่อว่ามีคุณพ่อคุณแม่หลายท่านที่กำลังรู้สึกหนักใจอยู่ว่าทำไมลูกถึงไม่ชอบกินผัก อาจเป็นเพราะผักมีรสชาติที่จืดชืดและผักบางชนิดก็มีรสชาติที่ขม ซึ่งเป็นรสชาติที่ไม่ถูกใจเด็ก แต่เนื่องจากผักเป็นอาหารที่มีประโยชน์มากมายเพราะอุดมไปด้วย ใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ซึ่งช่วยในการบำรุงสมองเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามสรรหาวิธีการที่จะทำให้ลูกหันมากินผักให้ได้
เด็กควรเริ่มกินผักตั้งแต่อายุเท่าไหร่และผักชนิดใดเหมาะกับวัยของเด็ก โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกเริ่มกินผักได้ตั้งแต่อายุ 3 - 5 เดือน

รู้จัก...โอเมก้า 3

ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
รู้จัก...โอเมก้า 3
รู้จัก...โอเมก้า 3
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วน ย่อมทำให้ร่างกายเจริญเติบโต สมส่วนตามวัย หากร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น หรือกินไม่ครบ 5 หมู่  เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมา หรือพัฒนาการไม่เป็นไปตามวัยที่ควรเป็น เช่น ร่างกายแคระแกน เป็นต้น
เราจึงควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน รวมทั้งสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งสารอาหารบางชนิดร่างกายไม่สามารถผลิตได้เอง แต่จะได้จากการรับประทานอาหารเท่านั้น เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega 3)  

10 วิธีประหยัดในหน้าร้อน

ที่มา : manager.co.th
10 วิธีประหยัดในหน้าร้อน
10 วิธีประหยัดในหน้าร้อน
ประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในฤดูไหนก็มีอากาศที่ร้อนระอุ ไม่ว่าจะเป็นฤดูฝน ที่พอฝนหยุดตกก็กลับมาร้อนอบอ้าว ร้อนชื้น ฤดูหนาวที่แยกไม่ออกว่าจริงๆ แล้วนั้นอยู่ในฤดูหนาวจริงหรือ เพราะไม่เคยได้ใส่เสื้อกันหนาว หรือผ้าพันคอเลยสักครั้ง และฤดูร้อนที่ร้อนตับแลบ ร้อนถล่มทลาย เสี่ยงต่อการเป็นโรคเพลียแดด โรคลมแดด (Heat Stroke) หรืออาการผิวหนังไหม้แดดขึ้นได้
จะว่าไปแล้วอากาศแบบนี้ทุกคนนั้นต่างก็มีทางออกในการใช้ชีวิต ทั้งการไปเที่ยวทะเลหรือน้ำตกคลายร้อน การเดินเล่นในห้างสรรพสินค้า หาอะไรเย็นๆ ทาน หรือการเปิดเครื่องปรับอากาศแล้วขังตัวเองอยู่ในบ้าน แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมากับหน้าร้อนนั่นก็คือค่าไฟที่สูงพุ่งทะยานอย่างรวดเร็ว เพราะการใช้เครื่องปรับอากาศ วันนี้จึงมีคำแนะนำวิธีการใช้แอร์ให้ประหยัดในหน้าร้อนให้ทุกคนได้ทำตามกัน

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

7 เรื่อง “คนแก่” ที่คน “ไม่แก่” ควรรู้!

ที่มา: ข่าวประชาสัมพันธ์ท้องถิ่น
7 เรื่อง “คนแก่” ที่คน “ไม่แก่” ควรรู้!
7 เรื่อง “คนแก่” ที่คน “ไม่แก่” ควรรู้!
          อ. สง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการด้านโภชนาการชื่อดังของเมืองไทย ชายวัย 67 ปีรูปร่างสันทัด ท่าทางกระฉับกระเฉงเกินคนในวัยเดียวกัน เจ้าของทฤษฎีการกินเพื่อชะลอวัยที่ใครหลายคนยกย่องปฏิบัติ ได้ให้นิยามของ Active Aging Society หรือ สังคมพฤฒพลัง ว่าเป็นสังคมที่ผลักดันให้ผู้สูงวัยที่สามารถใช้ชีวิตด้วยการพึ่งพาตัวเอง มีสุขภาพแข็งแรง มีโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการใช้ชีวิตรอบด้าน
ขณะเดียวกันก็รองรับผู้สูงวัยที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ สังคมผู้สูงที่ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องของคนแก่ จึงไม่ใช่เป็นแค่เรื่องของคนแก่อีกต่อไป อ.สง่าจึงได้เผย 7 เรื่อง "คนแก่" ที่คนไม่แก่ควรรู้!

ทำไม? ผู้ป่วยต้องงดน้ำ-อาหาร

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
โดย รศ.พญ.มานี รักษาเกียรติศักดิ์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ทำไม? ผู้ป่วยต้องงดน้ำ-อาหาร
ทำไม? ผู้ป่วยต้องงดน้ำ-อาหาร
ผู้ป่วยหลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องงดน้ำงดอาหาร เพราะรู้สึกหิวและกระหายมาก บางคนไม่ทราบถึงความสำคัญจึงแอบ รับประทานและไม่บอก การกระทำดังกล่าวอันตรายมาก อาจทำให้เกิดการสูดสำลักเข้าปอดได้
ในผู้ป่วยที่ตื่นอยู่จะมีกลไกป้องกันไม่ให้เกิดการสำลักเข้าปอด โดยมีการปิดของฝาปิดกล่องเสียงป้องกันการสูดสำลักของอาหารและน้ำเข้าสู่ปอด ทำให้ระหว่างการกลืนอาหารหรือดื่มน้ำไม่เกิดการสำลัก กรณีที่ฝาปิดกล่องเสียงทำงานผิดปกติ และเกิดมีการสำลักเข้าไปยังหลอดลมก็จะมีการกระตุ้นการไอเพื่อที่จะเอาเศษอาหารออกมา แต่ในผู้ป่วยที่ระบบประสาททำงานผิดปกติไป เช่น ผู้สูงอายุบางคนจะเกิดการสำลักได้ง่าย ระหว่างการได้รับยานอนหลับปริมาณมากหรือยาดมสลบทำให้ กลไกป้องกันตัวเองของร่างกายได้สูญเสียไป

วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560

ตัวการทำร้ายผิว...มองไม่เห็นแต่ร้ายลึก

ที่มา: เว็บไซต์ไทยรัฐ
ตัวการทำร้ายผิว...มองไม่เห็นแต่ร้ายลึก
ตัวการทำร้ายผิว...มองไม่เห็นแต่ร้ายลึก
          มลภาวะที่ต้องเผชิญในแต่ละวัน รวมทั้งความเครียด ล้วนเป็นตัวการทำร้ายผิวทั้งนั้น แล้วไหนจะความร้อนจากแสงแดด ที่พอเข้าหน้าร้อนทีไร ก็จะต้องพกร่ม หมวก ใส่เสื้อคลุม สวมแว่นกันแดด ให้วุ่นวายไปหมด ผู้หญิงหลายคนเลยแก้ปัญหาโดยการไม่ออกไปไหนซะเลย พอไม่ต้องโดนแดดก็เลยไม่ทาครีมกันแดด แต่รู้ตัวไหมว่าคุณกำลังคิดผิดมหันต์!!!

พฤติกรรมการกินผิดปกติ น่ากลัวกว่าที่คิด

ที่มา : manager.co.th โดย แพรวา คงฟัก
พฤติกรรมการกินผิดปกติ น่ากลัวกว่าที่คิด
พฤติกรรมการกินผิดปกติ น่ากลัวกว่าที่คิด
อยากผอม หุ่นดี ขาเรียว มีซิกแพ็ค สาวๆ หลายคนในปัจจุบันคงเคยรู้สึกแบบนี้ การแข่งกันสวยในยุคนี้ก็รุนแรงเสียเหลือเกิน วิธีการดูแลตัวเองก็มีมากมายหลายวิธีให้ได้เลือกใช้ ทั้งการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร รวมไปถึงตัวช่วยเร่งด่วนคือ การทานยาลดน้ำหนัก ที่อาจส่งผลเสียให้กับสุขภาพร่างกายเราอย่างทวีคูณ การวิตกกังวลเรื่องหุ่นนั้นบางครั้งมันก็นำมาสู่ความเครียด จนทำให้เกิด Binge Eating Disorder หรือ โรคพฤติกรรมการกินผิดปกติขึ้นได้

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

ไข่แดงกินมาก ไม่ดีจริงหรือ?

ที่มา : สปริงนิวส์
โดย อ.นพ.กรภัทร มยุระสาคร หน่วยอณูเวชศาสตร์ สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ไข่แดงกินมาก ไม่ดีจริงหรือ?
ไข่แดงกินมาก ไม่ดีจริงหรือ?
ไข่แดงกินมาก ไม่ดีจริงหรือ? คำถามที่รอคำตอบมากว่า 100 ปี
โลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคของคนสูงวัย จะเห็นว่า ในหลายประเทศมีคนสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร และเรียกว่า กำลังเข้าสู่ยุคที่แทบจะหาเด็กขาดสารอาหารไม่ได้แล้ว ยกเว้นแต่กลุ่มคนที่อยู่ตามพื้นที่ห่างไกล ที่ยังขาดโอกาสในการรับประหารที่มีคุณภาพ หรือไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการที่ดี คนเหล่านี้จะมีโอกาสในการได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสมแบบที่เรียกว่า Double Burden คือ หนึ่งในบ้านอาจจะมีทั้งคนที่ทุพโภชนาการแบบผอมและแบบอ้วนอยู่ร่วมกัน

“หน้าร้อน” กับ 9 โรคร้ายที่ต้องระวัง

ที่มา : www.thainews.prd.go.th
เรียบเรียงโดย  พรรณิภา จักเครือ
“หน้าร้อน” กับ 9 โรคร้ายที่ต้องระวัง
“หน้าร้อน” กับ 9 โรคร้ายที่ต้องระวัง
เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนใครหลายคนมักจะนึกถึงทะเล หรือการออกไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ แต่ก็อย่าท่องเที่ยวกันจนลืมระวังในเรื่องของการดูแลสุขภาพกันบ้างนะคะ เพราะหน้าร้อนนั้นเป็นที่มาของโรคหลายๆ โรค หากไม่ดูแลตัวเองก็อาจถูกโรคร้ายคุกคามได้
ไม่เพียงแค่อากาศเท่านั้นที่ร้อนระอุช่วงนี้ผู้คนมักเจ็บไข้ได้ป่วยกันง่ายขึ้น ทั้งจากน้ำดื่ม อาหารที่ไม่สะอาดและอาหารเสียง่ายทำให้โรคร้ายทยอยกันมาให้เห็น โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินอาหาร และโรคระบบทางเดินหายใจที่ถือเป็นภัยสุขภาพก็ต้องระวัง ร้อนนี้มีโรคอะไรที่ต้องระวังกันบ้าง

อาหารแสลง : ต้องห้าม

ที่มา: มูลนิธิหมอชาวบ้าน 
อาหารแสลง : ต้องห้าม
อาหารแสลง : ต้องห้าม
เรามักได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดถึงข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการกินและข้อควรปฏิบัติ เช่น คนที่ร้อนในง่ายห้ามกินของร้อน (คุณสมบัติหยาง) ของทอดๆ มันๆ ของเผ็ด เช่น
- กินทุเรียนแล้วห้ามกินเหล้า
- กินทุเรียนแล้วควรกินมังคุดหรือกินน้ำเกลือตาม
- กินลำไยมากระวังตาจะแฉะ
- เวลาเริ่มเป็นหวัด เจ็บคอ ควรกินพวกยาขม
- เวลาร้อนใน ให้กินน้ำจับเลี้ยง หรือกินน้ำเก๊กฮวย
- หญิงปวดประจำเดือนห้ามกินของเย็น (ลักษณะยิน) เช่น แตงโม น้ำมะพร้าว
- คนที่กินยาบำรุงจีน ห้ามกินผักกาดขาว หัวไชเท่า ฯลฯ เพราะจะล้างยา (ทำไมฤทธิ์ของยาน้อยลง) ฯลฯ