วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

อย่ามองข้าม “โรควัณโรคปอด”

ที่มา : รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

โรควัณโรคปอด เป็นโรคติดต่อและแพร่เชื้อกันได้ง่ายมาก การดูแลผู้ป่วยและคนใกล้ชิดจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อลดโอกาสการติดต่อไปยังผู้อื่น จะมีวิธีป้องกันอย่างไรนั้น เรามาทำความรู้จักกัน
อย่ามองข้าม “โรควัณโรคปอด”
อย่ามองข้าม “โรควัณโรคปอด”

วัณโรคติดต่อได้ทางการหายใจ จากการติดเชื้อโรคที่เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง โดยการสูดหายใจเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อปล่อยออกมาจากการไอ จาม พูด หัวเราะ หรือร้องเพลง ซึ่งเชื้อสามารถ อยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง

ส่วนใหญ่มักเกิดโรคที่ปอด แต่ก็พบที่อวัยวะอื่นได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง หรือกระดูก ซี่งผู้ป่วยจะได้รับเชื้อจากคนใกล้ชิดในครอบครัว หรือในที่สาธารณะจากผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อรายอื่น กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อเอชไอวี หรือไตวายเรื้อรัง เมื่อได้รับเชื้อจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้มากกว่าคนปกติหลายเท่า

แมลงสาบ! ภัยเงียบสู่ภูมิแพ้

ที่มา : รศ.พญ.อัญชลี ตั้งตรงจิตรและคณะ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
แมลงสาบ! ภัยเงียบสู่ภูมิแพ้
แมลงสาบ! ภัยเงียบสู่ภูมิแพ้
แมลงสาบที่พบในบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์อเมริกัน สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว  กล่าวคือหากเราเห็นแมลงสาบในบ้าน 1 ตัว เท่ากับยังมีอยู่ในรังอีก 10-800 ตัว สารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบจะมาจากส่วนต่าง ๆ ทั้งจากตัวมันเอง และส่วนต่างๆ ของแมลงสาบ   เช่น   ปีก หนวด  ไข่   รวมทั้งสิ่งที่ขับถ่ายออกมา หรือจากสารคัดหลั่งของแมลงสาบ

นักกีฬากับความเสี่ยงของหัวใจ

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
นักกีฬากับความเสี่ยงของหัวใจ
นักกีฬากับความเสี่ยงของหัวใจ
          หลายๆ คนที่เป็นทั้งคอบอล หรือแม้แต่ดูบอลไม่เป็น น่าจะเคยได้ยินข่าวเรื่องนักฟุตบอลทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเสียชีวิตในระหว่างการแข่งขันเนื่องจากหัวใจล้มเหลวอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อยว่าทำไมนักฟุตบอล ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องออกกำลังกายเป็นประจำเสมออยู่แล้ว ถึงเสียชีวิตจากโรคหัวใจกันมาก ทั้งที่ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน
          จึงขอตอบคำถามเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องนี้ เหตุการณ์การเสียชีวิตจากโรคหัวใจในนักกีฬานั้น ถือว่าน้อยมาก ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมาพบเพียง 1:50,000-1:300,000 ราย แต่เนื่องจากนักกีฬาเหล่านี้อายุยังน้อย มีอนาคตที่จะสร้างชื่อเสียงในวงการกีฬาให้แก่ทีมต้นสังกัดหรือเป็นตัวแทนระดับชาติได้อีกมากมาย หากเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ จึงเป็นเรื่องที่สะเทือนใจสำหรับผู้ที่รับทราบ ทั้งที่เป็นแฟนคลับและคนทั่วไป

อาการเตือน"เสี่ยงมะเร็งลำไส้"

ที่มา : เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์
อาการเตือน"เสี่ยงมะเร็งลำไส้"
อาการเตือน"เสี่ยงมะเร็งลำไส้"
ข้อมูลข่าวโดย : แพรวา คงฟัก
ปัจจุบันการแพทย์ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โรคต่างๆ นั้นก็พัฒนาตามการรักษา มีความรุนแรง ความรวดเร็วที่จะเกิดโรคนั้นจากแต่ก่อน ซึ่งมะเร็งลำใส้ก็นับว่าเป็นภัยร้ายที่คุกคามชีวิตคนทั้งโลกอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมารู้ตัวอีกครั้งก็ตอนป่วยในระยะที่หนักๆ เสียแล้ว สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ก็เหมือนกับการเกิดโรคมะเร็งทั่วไป ก็คือ การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง เน้นเนื้อสัตว์มากเกินไป มีไขมันมากเกินไป ใยอาหารน้อย หรืออาหารประเภทปิ้งย่าง การใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่มีการดูแลตัวเอง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม

ไบโพลาร์ รักษาหายได้

ที่มา : เว็บไซต์ thaipr.net
ไบโพลาร์ รักษาหายได้
ไบโพลาร์ รักษาหายได้
กรมสุขภาพจิตเผยโรคอารมณ์สองขั้วสามารถรักษาหายได้ เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์เป็นอาการสำคัญ แนะผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัด ดูแลตัวเอง รวมทั้งควรต้องได้รับกำลังใจและความเข้าใจจากสังคม ครอบครัว และคนใกล้ชิด
นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเนื่องในพิธีเปิดงาน ไบโพลาร์วันฟ้าใหม่ ปีที่ 8 ที่จัดขึ้นด้วยความร่วมมือกันระหว่าง ชมรมเพื่อนไบโพลาร์ สมาคมสายใยครอบครัว และศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ว่า ประเทศไทยมีการตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์ให้ความรู้ ให้สังคมรู้จักโรคไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว และมีความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยและสามารถสังเกตคนรอบข้างได้ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป

วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE)

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE)
โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE)
          โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก โดยส่วนใหญ่กว่า 80% เป็นชนิดหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (Ischemic stroke) และอีกประมาณ 20% เป็นหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)
      

กินไขมันอย่างไรไม่ให้ "อ้วน"

ที่มา : ศุกร์สุขภาพ เว็บไซต์ไทยรัฐ

กินไขมันอย่างไรไม่ให้ "อ้วน"
กินไขมันอย่างไรไม่ให้ "อ้วน"
“ไขมัน” เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของอาหารหลัก 5 หมู่ ที่เราทุกคนควรกินในแต่ละมื้อ เพื่อที่ร่างกายจะได้นำพลังงานไปใช้ในการดำรงชีวิต

นอกจากนี้ไขมันยังมีประโยชน์อีกมากมาย อาทิ ช่วยดูดซึมวิตามินเอ ดี อี และเค จากอาหารที่เรากิน และควบคุมกระบวนการเปลี่ยนแปลงของคอเลสเตอรอลในร่างกาย เป็นแหล่งพลังงานสำรองของร่างกาย โดยสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่ตามร่างกาย ช่วยให้ผิวหนังและผมมีสุขภาพแข็งแรง
กรดไขมันที่ควรรู้จัก มีดังนี้
กรดไขมันไม่อิ่มตัว เป็นกรดไขมันที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด พบได้ทั่วไปในน้ำมันที่ได้จากพืช ยกเว้นน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว
กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง เป็นกรดไขมันที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ แต่ไม่สามารถผลิตได้เอง ได้แก่ กรดไขมันไลโนเลอิก พบในผัก ผลไม้ ธัญพืช เมล็ดพืชต่างๆ น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันจมูกข้าวสาลี เป็นต้น ส่วนกรดไขมันอัลฟาไลโนเลนิก พบในเมล็ดปอ เมล็ดมัสตาร์ด เมล็ดฟักทอง เมล็ดถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดวอลนัท ผักใบเขียว ธัญพืช สาหร่ายสไปรูไลนาและน้ำมันปลา
กรดไขมันตระกูลโอเมกา-3 มีประโยชน์ต่อหัวใจ นั่นคือ ช่วยต้านการอักเสบ ต้านการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย อาหารที่มีโอเมกา-3 ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน และปลาทูน่า
กรดไขมันอิ่มตัว เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ จึงไม่จำเป็นต้องกินเพิ่มเข้าไป โดยควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูง ซึ่งได้แก่ เนย นมสด ครีม ไอศกรีม น้ำมันหมู ไขมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม อันเป็นสาเหตุให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
กินไขมันอย่างไรดี
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เราจึงควรเลือกกินไขมันที่ดี เช่น เนื้อปลา ธัญพืช ผัก ผลไม้ อาหารพร่องไขมัน หรือผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน หมู 3 ชั้น หนังไก่ อาหารทอด อบ ปิ้ง ย่าง เช่น โดนัท คุกกี้ แคร็กเกอร์ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยไขมันจากสัตว์ หรือการปรุงอาหารด้วยน้ำมันจากไขมันสัตว์ นอกจากนี้หากมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจระดับคอเลสเตอรอลอย่างน้อยปีละครั้ง

ดูแล “ดวงตา” ในยุคดิจิทัล

ที่มา : อ.พญ.ญาณิน สุวรรณ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

“ดวงตา” เป็นอวัยวะที่สำคัญอวัยวะหนึ่งของร่างกายเรา แต่ละคนมีกันคนละคู่เท่านั้น ในแต่ละวันเราต้องใช้ดวงตาในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน ทำให้ดวงตาของเราต้องรับบทหนักตลอดทั้งวัน

ดูแล “ดวงตา” ในยุคดิจิทัล
ดูแล “ดวงตา” ในยุคดิจิทัล
ยิ่งโลกปัจจุบันที่โซเชียลเน็ตเวิร์กได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนเรา อย่างแทบจะขาดไม่ได้ เราสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต ซึ่งจากข้อมูลปี 2559 พบว่าจากประชากรทั้งหมด 68 ล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 38 ล้านคน คิดเป็น 56% ของประชากร และมีผู้ใช้ Social Media ทั้งสิ้น 38 ล้านคน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เราใช้สายตามากกว่าปกติ จนอาจทำให้เป็น “โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม”

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

อ่อนวัย... ด้วยโยคะ

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
อ่อนวัย... ด้วยโยคะ
อ่อนวัย... ด้วยโยคะ
          การเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ถ้าค้นหาสาเหตุของการป่วย แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากพันธุกรรม แต่ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรม การใช้ชีวิต
          กุลธิดา แซ่ตั้ง อดีตพยาบาลคนนี้ ก็ไม่ต่างจากคนอื่นๆ คือ เห็นคนป่วยที่เข้าออกโรงพยาบาลอยู่เรื่อยๆ จนตั้งคำถามว่าชีวิตคนเราจะรอให้ป่วย แล้วค่อยเข้าโรงพยาบาลหรือ เพราะคนส่วนใหญ่ ป่วยเพราะตัวเขาเอง  ถ้าอย่างนั้น คนเราน่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค ไม่ให้ป่วย คงจะดีกว่า...

ปวดร้าวที่กระดูก แบบไหนต้องพบแพทย์

ที่มา: รามาแชนแนล Rama Channel
ปวดร้าวที่กระดูก แบบไหนต้องพบแพทย์
ปวดร้าวที่กระดูก แบบไหนต้องพบแพทย์
ในบรรดาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัว อาการปวดร้าวที่กระดูกถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่หลายคนพบเจอ เนื่องจากการใช้ร่างกายที่ไม่เหมาะสม หรือการเคลื่อนไหวที่ผิดพลาด บ้างเกิดจากอายุที่มากขึ้น บ้างก็อาจเกิดจากการออกกำลังกาย และอื่นๆ ทั้งยังคงเป็นปัญหาให้หลายคนที่เป็น ใช้ชีวิตผิดปกติไปจากเดิม
โดยระดับอาการยังมีตั้งแต่น้อยไปถึงมาก อาจต้องพบแพทย์หรือไม่ก็ได้ เพราะบางระดับอาการก็สามารถบำบัดได้ด้วยตนเอง วันนี้เราก็มีข้อมูลมาฝากว่าอาการปวดร้าวที่กระดูกแบบไหน ที่ควรพบแพทย์บ้าง

"สูงวัย" แค่ใจสู้ ไม่เพียงพอ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"สูงวัย" แค่ใจสู้ ไม่เพียงพอ
"สูงวัย" แค่ใจสู้ ไม่เพียงพอ
สูงวัยแล้วช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่มีลูกหลานดูแล ลองดูว่ามีตัวช่วยอะไรบ้าง คงเคยได้ยินบ่อยๆ ว่า ลูกๆ เกี่ยงกัน ไม่อยากดูแลพ่อเม่ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ,คนดูแลผู้สูงวัยหายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร,คนชรายากจนถูกนำไปทิ้งในบ้านพักคนชรา ฯลฯ นี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น และปัญหาเหล่านี้จะมากขึ้นเรื่อยๆ...
ถ้านับจากพุทธศักราชนี้ (ปี2560) อีก 6 ปีข้างหน้า เมืองไทยจะเป็นสังคมผู้สูงวัยสมบูรณ์แบบ เพราะมีผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ แม้คนทำงานในแวดวงผู้สูงวัยจะตื่นตัว แต่เรื่องจริงที่เกิดขึ้น ก็คือ ภาครัฐยังไม่ได้ออกแบบกลไกการดูแลผู้สูงวัยที่มีประสิทธิภาพ ถ้าอย่างนั้นครอบครัวที่มีผู้สูงวัยต้องดูแล หรือคนที่เข้าสู่ช่วงสูงวัย หากถึงวันที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย หรือช่วยตัวเองไม่ได้แล้ว ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง...

ยานอนหลับ

ที่มา: มูลนิธิหมอชาวบ้าน
ยานอนหลับ
ยานอนหลับ
เริ่มเข้านอน จะนอนหลับยาก ต้องใช้เวลานานๆ กว่าจะหลับ โดยทั่วๆ ไป เมื่อเข้านอนแล้ว ถ้าใช้เวลา 45-60นาทีแล้ว ยังไม่สามารถหลับได้ จะจัดว่าเป็นคนที่นอนหลับยาก
อาการนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยในสังคมยุคปัจจุบัน ที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ และแข่งขันกันอย่างมากมาย โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดปัญหาหรือเป็นช่วงวิกฤติของชีวิต ซึ่งจะพบได้มากขึ้นในบุคคลที่มีอายุมากขึ้น ที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย หรือในสภาวะแวดล้อมภายนอกที่วิกฤติเป็นปัญหาอุปสรรค เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย น้ำมันแพง สึนามิ เป็นต้น